-->

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การทำ Performance Tuning


ขั้นตอนต่างๆในการทำ Performance Tuning

Performance Baseline Measurement

ก่อนการทำ Tuning จะต้องมีการวัดค่าพื้นฐานต่างๆของระบบก่อน ไม่ว่าจะเป็น cpu percent processing, disk queue, query time, no. of page scan หรือค่าอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะใช้เป็นตัวเปรียบเทียบหลังจากที่ได้ทำการTuning ไปแล้วว่า ได้ผลมากน้อยเพียงใด
เครื่องมือที่ใช้ปกติก็จะมี Performance Monitor กับ SQL Profiler



รูปที่ 1 ตัวอย่างหน้าตาเครื่องมือ Performance Monitor ของ Windows 7



Performance Monitor

Performance Monitor เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ฟรี ที่มีอยู่ใน windows อยู่แล้ว โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะใช้ในการตรวจสอบ CPU, Disk, Memory, Network และอื่นๆ สำหรับโปรแกรมเมอร์บางท่านอาจจะยังไม่เคยใช้ เพราะว่าเครื่องมือตัวนี้ Admin หรือ DBA มักจะเข้ามาใช้เพื่อ Monitor ระบบอยู่แล้ว
ในตอนนี้ผมจะลองแสดงให้เห็นวิธีการใช้งานเพื่อหา Bottle Neck อย่างง่ายๆ ดูนะ
เริ่มจากเปิดโปรแกรม Performance Monitor ขึ้นก่อน โดยโปรแกรมนี้จะอยู่ใน Administrative Tools ซึ่งปกติจะมีอยู่ใน Windows ทุกเวอร์ชั่น



รูปที่ 2 ภายในเมนู Control Panel








รูปที่ 3 ภายในหัวข้อ Administrator Tool







รูปที่ 4 แสดง Performance Monitor



                จากรูปที่ 4 จะแสดง count ของ % Processor Time ซึ่งเป็น counter ที่ใช้วัดการทำงานของ CPU ว่ามีการทำงานเป็นอย่างไร โดยปกติแล้วเราจะดูที่ค่า Average ถ้าค่า average ไม่เกิน 80% ก็ถือว่าปลอดภัย แต่ถ้าเกินกว่านี้ แสดงว่า CPU ทำงานไม่ทัน อาจจะแก้ปัญหาโดยการเพิ่ม CPU ให้มาหรือเปลี่ยน CPU
                นอกจากนั้น เราสามารถที่จะเพิ่ม counter ได้อีกโดยการคลิกขวาเพื่อเลือกเมนู Add Counter ดังรูปที่ 5



รูปที่ 5 แสดงการเลือกเมนู Add Counter








รูปที่ 6 แสดงหน้าจอการเลือก Counter


                จากรูปที่ 6 สามารถอธิบายหน้าจอได้ดังนี้
         1.   Select counters from computer – ระบุชื่อ computer name ที่ต้องการจะตรวจสอบ
         2.   หมวดหมู่ของ counter และเมื่อกดจะแสดงรายชื่อ counter ของหมวดนั้นๆ
         3.   instance of selected object  – instance ของ counter ที่เลือก ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเลือก 
               %C1 Time  ในช่อง select instance of selected object จะแสดงจำนวน  CPU ทั้งหมดที่อยู่ในเครื่อง
                      จากรูปด้านบน มี CPU 0,1 แสดงว่ามี  CPU 2 ตัว แต่ถ้าเครื่องนี้มีหลายตัวก็อาจจะแสดงเป็น 0, 1, 2, 3
                      ก็แสดงว่าในเครื่องนี้มี CPU ทั้งหมด 4 ตัว โดยเราอาจจะขอดูเฉพาะตัวใดตัวหนึ่งหรือดูทั้งหมดก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น